วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลงที่ชอบ


     เพลงศรัทธา 
   




สาเหตุที่ชอบ เพลง เพลงศรัทธา
...เพราะเพลงนี้  มีเนื้อหา ที่ดีมาก เป็นการ บอกให้ คนที่คิดจะท้อ ผิดหวัง อะไรต่างๆ
                          ลุกขึ้นสู้ และทำสิ้งที่ตัวเอง ฝัน หรือตั้งใจเอาไว้ ให้ได่ทุกคนมีฝัน ขอเพียงศรัทธา ในความฝันนั้น สักวัน ฝันของเราต้องเป็นจริง!!!



วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ข่าวสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


Google ล่ม 5 นาที

 คาดสูญเงิน 5.45 แสนเหรียญสหรัฐฯ




                          เว็บไซต์ด้านไอที thumbsup.in.th ได้นำเสนอบทความอ้างอิงจากสำนักข่าว VentureBeat รายงานวิกฤติเครือข่ายล่มที่เกิดขึ้นกับ Google ว่ากินเวลา 5 นาที โดยทีมงาน VentureBeat และผู้ใช้งานทั่วไปที่โพสต์ข้อความรายงานบน Twitter วันที่ 16 สิงหาคมตั้งแต่ช่วงเวลา 3:50 p.m. ถึง 3:55 p.m. (Pacific time) หรือตรงกับเวลาไทยตอน 05.50-05.55 น. ของวันที่ 17 สิงหาคม 2556
                       ด้วยปริมาณการใช้งานมหาศาลทำให้เสิร์ชเอนจิ นยักษ์ใหญ่ระดับโลก “Google” ไม่สามารถใช้งานได้นานนับ 5 นาที เบื้องต้น สื่ออเมริกันคาดว่าการ “ล่ม 5 นาที” ของ Google อาจทำให้กูเกิลสูญรายได้มากกว่า 545,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 16 ล้านบาท
                     
สำนักข่าว VentureBeat รายงานวิกฤติเครือข่ายล่มที่เกิดขึ้นกับ Google ว่ากินเวลา 5 นาที โดยทีมงาน VentureBeat และผู้ใช้งานทั่วไปที่โพสต์ข้อความรายงานบน Twitter วันที่ 16 สิงหาคมตั้งแต่ช่วงเวลา 3:50 p.m. ถึง 3:55 p.m. (Pacific time) หรือตรงกับเวลาไทยตอน 05.50-05.55 น. ของวันที่ 17 สิงหาคม 2556







วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎของมัวร์ หรือ Moore’s Law



                   กฎของมัวร์ หรือ Moore’s Law






กฎของมัวร์ (Moore’s law) 

อธิบายโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทลกล่าวถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุกสองปี

หากกฎของมัวร์เป็นจริงคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันจะก้าวไปอย่างไรในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งทีประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ 

ทฤษฎีของมัวร์ได้กล่าวไว้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอรืทำให้สามารถผลิต     ไอซีที่มี ความหนาแน่นไดด้เป็นสองเท่าทุก ๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เขาได้ทำการพล็อตกราฟแบบสเกลล็อกให้ดูจากอดีตและพบว่าเป็นเช่นนั้นจริง นอกจากนี้ความก้าวหน้าอื่น ๆ อีกหลายอย่างก็เป็นไปตามกฎของมัวร์ด้วยเช่นกัน 

การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีนี้เป็นต้นแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐานที่กล่าวอ้างไว้พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์ก็ได้กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์ 

กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุกสองปี และมีผู้นำกฎนี้มาใช้กับ eCommerce ดังนี้

กำลัง (หรือ ความจุ หรือ ความเร็ว) ของสิ่งต่อไปนี้เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน
1. ความเร็ว Computer Processor
2. แบนด์วิธการสื่อสารและโทรคมนาคม
3. หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
4. ความจุฮาร์ดดิสก์




วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย unicode


                                    ...Unicode...


Unecode...
     ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดย Unicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ  unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด







วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย รหัส ASCll


 หั.....ASCII

    ASCll  


         แอสกี หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (อังกฤษ:ASCII:American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น 




  ประวัติ 

    รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) 

        โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (ETX - end of text) เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง

         รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128 ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขระ





..ผังอักขระแอสกีที่ไม่แสดงผล..


        อักขระที่ไม่แสดงผลเหล่านี้ถูกใช้เป็นรหัสควบคุมการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ หรือใช้เป็นตัวแบ่งข้อมูลในสื่อบันทึกข้อมูลบางชนิด (เช่นเทป) อักขระตัวแทนที่ปรากฏในตารางเป็นเพียงการแสดงว่า ณ ตำแหน่งนั้นมีรหัสดังกล่าวอยู่ ไม่ใช่สัญลักษณ์ที่จะนำมาแสดงผลเป็นหลัก




...ผังอักขระแอสกีที่แสดงผล..






 

รหัสAscll



  PIYATHIDA    KOEDKRAI   



P = 01010000
I = 01001001
Y = 01011001
A = 01000001
T = 01010100
H = 01001000
I = 01001001
D = 01000100
A = 01000001

Space = 0100 0000

K = 01001011
O = 01001111
E = 01000101
D = 01000100
K = 01001011
R = 01010010
A = 01000001
I = 01001001


010100000100100101011001010000010101010001001000010010010100010001000001
0100101101001111010001010100010001001011010100100100000101001001

มีพื้นที่จัดเก็บดังนี้ 17 ไบต์ 136 บิต